Background



ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
17 มกราคม 2563

0


 แผนที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านตาขุน

 

คำขวัญอำเภอบ้านตาขุน

 

ภูเขาสูง เขื่อนสวย รวยผลไม้ ไร้อาชญากรรม คุณธรรมล้ำเลิศ ต้นกำเนิดเสาหลักเมือง

1.1 ประวัติศาสตร์

เมื่อ 200 ปีล่วงมาแล้ว เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชได้แต่งตั้ง  ขุนหัวเมือง (นายอุ่น  สุขอุ่น) ไปปกครองเมืองคีรีรัฐนิคม ซึ่งการเดินทางสมัยนั้นยากลำบาก คณะที่ได้ลงเรือที่อำเภอบ้านนาสารล่องมาทางแม่น้ำตาปี  และขึ้นมาทางคลองพุมดวง  เพื่อเดินทางไปยังเมืองคีรีรัฐนิคม  ขึ้นฝั่ง ณ หมู่ที่ 4 ตำบลเขาวง ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน  สันนิษฐานว่าหมู่บ้านดังกล่าวเป็นหมู่บ้านที่เจริญกว่าหมู่บ้านอื่น มีการสร้างบันได      ไว้รับรอง “ขุนหัวเมือง”เมื่อขึ้นมาพักแรมจึงมีชื่อเรียกขานกันว่า “บ้านตาขุน”

แต่เดิมอำเภอบ้านตาขุนเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอคีรีรัฐนิคม ได้แยกออกมาในฐานะ กิ่งอำเภอตามประกาศกระทรวงมหาดไทย  ลงวันที่  4 กรกฎาคม 2516 และได้ยกฐานะเป็นอำเภอตามพระราชกฤษฎีกา   เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2519

 

             1.2 ทำเลที่ตั้ง

                          1.2.1 ที่ตั้ง

อำเภอบ้านตาขุน เป็นอำเภออยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี       ห่างจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประมาณ 70 กิโลเมตรโดยใช้ทางหลวงที่ 401 สุราษฎร์ – ตะกั่วป่า สถานที่ตั้ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านตาขุน เลขที่ 6/1 หมู่ที่ 4 ตำบลเขาวง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี   มีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ  1,320  ตารางกิโลเมตร (824,986  ไร่)

                          1.2.2  อาณาเขต      ทิศเหนือ             ติดต่อกับ         อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง

                                                          ทิศใต้                 ติดต่อกับ         อำเภอพนม  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

                                                          ทิศตะวันออก       ติดต่อกับ         อำเภอวิภาวดี,อำเภอคีรีรัฐนิคม

                                                          ทิศตะวันตก         ติดต่อกับ         อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

 

            1.3 ลักษณะทางภูมิศาสตร์

                        1.3.1 ภูมิประเทศ

ภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงประกอบด้วย ป่า ภูเขา อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (เขื่อนรัชชประภา) พื้นที่ราบประมาณ 20% ของพื้นที่ทั้งหมด มีภูเขาสูงประมาณ 70% ของพื้นที่ล้อมรอบอำเภอ มีต้นน้ำที่เกิดจากภูเขาในเขตตำบลเขาพัง เรียกว่า“คลองแสง “ไหลผ่านตำบลพะแสงต่อมา เรียกว่า “คลองพุมดวง” แล้วไหลผ่านตำบลเขาวง ตำบลพรุไทย ผ่านไปยังอำเภอคีรีรัฐนิคม

                        1.3.2 ภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศของอำเภอบ้านตาขุนอยู่ในเกณฑ์อบอุ่นสบายและค่อนข้างชื้น    มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 - 35 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์ 83 % มีเพียง 2 ฤดู คือฤดูร้อน ตั้งแต่เดือน มกราคม -  พฤษภาคม และฤดูฝน ตั้งแต่เดือน มิถุนายน – ธันวาคม ปริมาณและการกระจายของฝน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบ 3 ปี (ปี 2558 - 2560) 1,274.24 มิลลิเมตร/ปี

 

             1.4 การปกครอง

                        1.4.1 การปกครองส่วนภูมิภาค

แบ่งออกเป็น 4 ตำบล 29 หมู่บ้าน มีส่วนราชการสังกัดส่วนภูมิภาค  จำนวน  6 หน่วยงาน  ประกอบด้วย

                      1. ที่ทำการปกครองอำเภอ                   2. ที่ทำการสัสดีอำเภอ

        3.  สำนักงานเกษตรอำเภอ                   4. สถานีตำรวจภูธร

        5. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ           6. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ

ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลางโดยตรง แต่มีที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอ มี  8 หน่วยงาน ประกอบด้วย

                       1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง

                       2. เขื่อนรัชชประภา

                       3. โรงพยาบาลบ้านตาขุน         

                       4. สำนักงานสรรพากรจังหวัด

                       5. สำนักงานที่ดินจังหวัด   สาขาบ้านตาขุน

         6. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน

         7. หน่วยป้องกันและรักษาป่า ที่ สฎ 3 บ้านตาขุน

         8. อุทยานแห่งชาติเขาสก

                         1.4.2 การปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งเป็น 2 เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 3 แห่ง

                     1. เทศบาลตำบลบ้านตาขุน

                     2. เทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน

                     3. องค์การบริหารส่วนตำบลเขาวง

                     4. องค์การบริหารส่วนตำบลพะแสง

                     5. องค์การบริหารส่วนตำบลพรุไทย

 

             1.5 ทรัพยากรธรรมชาติ/แหล่งท่องเที่ยว

        1. เขื่อนรัชชประภา/สนามกอล์ฟ 18 หลุม

        2. อุทยานแห่งชาติเขาสก/อ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา/เขาสามเกลอ/ถ้ำปะการัง/ถ้ำน้ำทะลุ

        3. สะพานแขวนภูเขารูปหัวใจ/จุดชมวิวเขาตอเต่า

 

              1.6 โครงสร้างพื้นฐาน

                       1.6.1 การคมนาคม

การคมนาคมของประชาชนในอำเภอบ้านตาขุนมีถนนสายหลักคือ สาย สุราษฎร์- ตะกั่วป่า ซึ่งเป็นถนน 4 ช่องทางจราจร ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ถนนสายรอง  สายตลาดบ้านตาขุน – เขื่อนรัชชประภา ซึ่งได้ปรับปรุงถนนและปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดสองข้างทางให้สวยงาม แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2560 เพื่อเป็นเส้นทางหลักในการรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอบ้านตาขุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเขื่อนรัชชประภาที่เพิ่มขึ้นในทุกๆปีและเส้นทางภายในหมู่บ้านมีถนนคอนกรีตและถนนลาดยางเชื่อมต่อกันระหว่างหมู่บ้าน ประชาชนสามารถสัญจรไปมาได้ตลอดฤดูกาล

                       1.6.2 การสื่อสาร

มีโทรศัพท์สาธารณะทุกหมู่บ้าน และประชาชนส่วนใหญ่นิยมใช้โทรศัพท์มือถือเกือบทุกหลังคาเรือน มีหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน และมีที่ทำการไปรษณีย์อำเภอ จำนวน 1 แห่ง

         อนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภาจะมีปัญหาของระบบสื่อสารส่วนใหญ่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ในการติดต่อสื่อสารต้องใช้วิทยุสื่อสารเป็นหลัก ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังพัฒนาระบบสื่อสาร

                       1.6.3 การไฟฟ้า ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ครบทุกหลังคาเรือน

                       1.6.4 การประปา มีประปาส่วนภูมิภาคจำนวน 2 แห่งและมีประปาของหน่วยงานอื่นๆทุกหมู่บ้าน

 

             1.7 เศรษฐกิจ

         เศรษฐกิจของอำเภอบ้านตาขุนขึ้นกับการเกษตรและการท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ มีพื้นที่ทางการเกษตร ร้อยละ 8.60 ของพื้นที่ทั้งหมด ประกอบด้วย พืชยางพารา จำนวนเนื้อที่ปลูกทั้งหมด 54,733 ไร่รองลงมา คือ พืชปาล์มน้ำมัน จำนวนเนื้อที่ปลูกทั้งหมด 16,511 ไร่ และพืชลองกอง จำนวน 742 ไร่ โดยรายได้หลักส่วนใหญ่มาจากยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ รองลงมาคือการท่องเที่ยวรวมทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว มีสถานประกอบการท่องเที่ยวที่หลากหลาย เช่น ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท เรือท่องเที่ยว และ แพของผู้ประกอบการทั้งของรัฐและเอกชนจำนวนมาก จากข้อมูลของอุทยานแห่งชาติเขาสกในปี 2561  พบว่ามีนักท่องเที่ยว จำนวน 351,645 คน โดยแยกเป็นชาวไทย จำนวน 149,070 คน และชาวต่างชาติ จำนวน 202,575 คน มีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมจำนวน 64,548,360 บาท มูลค่าผลิตภัณฑ์รวมประมาณ 2,000 ล้านบาท รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน 187,909 บาท/ครัวเรือน/ปี รายได้บุคคลเฉลี่ย 82,194.29 บาท/คน/ปี ซึ่งลดลงจากปีที่ผ่านมาเนื่องจากผลกระทบของราคาผลิตผลทางการเกษตรตกต่ำ อาทิเช่น ยางพาราและปาล์มน้ำมัน โดยพบว่าประชากรเขต อบต.พะแสง มีรายได้เฉลี่ยสูงสุด 93,534.52 บาท/คน/ปี และประชากรเขต อบต.พรุไทย  มีรายได้เฉลี่ยต่ำสุดคือ 68,474.43 บาท/คน/ปี (รายงานคุณภาพชีวิตของประชาชนอำเภอบ้านตาขุน สำนักงานพัฒนาชุมชน, 2561)

 

             1.8. สังคม

                     1.8.1 การศึกษา อำเภอบ้านตาขุน มีการจัดการศึกษาทุกระดับตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และการศึกษานอกโรงเรียน  ดังตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1 จำนวนนักเรียนและสถานศึกษาในอำเภอบ้านตาขุน ปีการศึกษา 2562

       ระดับการศึกษา

 

 

    สถานบริการ

ในระบบ

นอกระบบ/อัธยาศัย

ปฐมวัย (อนุบาล)

ประถมศึกษา/ขยายโอกาส

มัธยมศึกษา

กศน.บ้านตาขุน

ร.ร.

นร.

ร.ร.

นร.

ร.ร.

นร.

ศูนย์

จำนวน นร.

รพ.บ้านตาขุน

   3

 218

2

457

   1

966

ต.เขาวง

1 ศูนย์

   66 คน

 

   60 คน

 

   45 คน

 

   66 คน

รพ.สต.บ้านวังขุม

1

14

1

40

-

-

รพ.สต.บ้านปากน้ำ

1

87

1

125

-

-

ต.พะแสง

1 ศูนย์

รพ.สต.พะแสง

1

27

1

67

-

-

รพ.สต.พรุไทย

2

31

2

126

 

 

ต.พรุไทย 1 ศูนย์

รพ.สต.เขาพัง

1

46

1

180

-

-

ต.เขาพัง

1 ศูนย์

รพ.สต.บ้านเชี่ยวหลาน ฯ

2

80

2

275

1

176

รวม

10

503

10

1,270

2

1,142

4

237คน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีจำนวนทั้งหมด 7 ศูนย์ ครูจำนวน 23 คน นักเรียน จำนวน  331 คน รายละเอียด ดังนี้  

            1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนทอง                              ครู   2  คน           เด็ก  29  คน

            2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชี่ยวขวาน                            ครู   2  คน           เด็ก  29   คน

            3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน       ครู   5  คน           เด็ก  76  คน

            4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านเขาเทพพิทักษ์          ครู   2  คน           เด็ก  46  คน                               

            5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านตาขุน               ครู   2  คน          เด็ก  20  คน

            6. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอบต.เขาวง                                  ครู   3  คน          เด็ก  45  คน

            7. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.พะแสง                                ครู   2  คน          เด็ก  37  คน

ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน  8  แห่ง      ห้องสมุดประชาชน  1 แห่ง         

1.8.2 ศาสนา

          อำเภอบ้านตาขุนเป็นเมืองที่มีความรุ่งเรืองทางศาสนามาแต่อดีตกาล ประชาชนนับถือศาสนาต่างๆ ดังนี้ นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99.70 มีวัดจำนวน  6 แห่งและสำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง นับถือ ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.30

 

              1.9 ประชากร

อำเภอบ้านตาขุน มีหลังคาเรือนทั้งหมดจำนวน  7,525 หลังคาเรือน และมีประชากรกลางปี 2562 จำนวน 16,162 คน เพศชาย 7,994 คน เพศหญิง 8,168 คน ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 12 คน/ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในชนบท รายละเอียด ดังตารางที่ 2 และ 3

 

ตารางที่ 2 จำนวนประชากรและจำนวนครัวเรือน อำเภอบ้านตาขุน

ตำบล

หน่วยบริการ

จำนวน

หมู่บ้าน

หลังคาเรือน

(ทะเบียนราษฎร์)

 จำนวนประชากร

รวมทั้งตำบล

ชาย

หญิง

รวม

พรุไทย

รพ.สต.พรุไทย

9

1,059

1,397

1,400

2,797

2,797

เขาพัง

รพ.สต.เขาพัง

3

823

652

600

1,252

4,584

รพ.สต.บ้านเชี่ยวหลานฯ

2

1079

1,657

1,675

3,332

พะแสง

รพ.สต.พะแสง

4

410

800

822

1,622

3,612

รพ.สต.บ้านปากน้ำ

5

598

977

1,013

1,990

เขาวง

รพ.สต.บ้านวังขุม

2

307

519

495

1,014

5,169

รพ.บ้านตาขุน

4

2,542

2,064

2,091

4,155

 

รวม

29

7,525

7,994

8,168

16,162

16,162

ที่มา : ทะเบียนราษฎร์ อำเภอบ้านตาขุน  (1 พ.ย. 2562)

 

ตารางที่ 3 จำนวนประชากรกลางปี 2560 – 2562  จำแนกตามหน่วยบริการสาธารณสุข

ตำบล

หน่วยบริการ

จำนวนหมู่บ้าน

จำนวนประชากร

ปี 2560

ปี 2561

ปี 2562

พรุไทย

รพ.สต.พรุไทย

9

2,783

2,797

๒,๗๙๗

เขาพัง

รพ.สต.เขาพัง

3

1,259

1,256

1,25๒

รพ.สต.บ้านเชี่ยวหลานฯ

2

3,315

3,330

๓,๓๓๒

พะแสง

รพ.สต.พะแสง

4

1,623

1,606

1,๙๙๐

รพ.สต.บ้านปากน้ำ

5

1,894

1,985

1,622

เขาวง

รพ.สต.บ้านวังขุม

2

1,000

998

1,014

รพ.บ้านตาขุน

4

4,169

4,169

4,๑๕๕

รวม

29

16,043

16,288

๑๖,๑๖๒

ที่มา : ทะเบียนราษฎร์ อำเภอบ้านตาขุน 

ข้อมูลประชากรตามกลุ่มวัย (ชุดสิทธิประโยชน์)

1.       กลุ่มแม่และเด็ก                                                                

                * หญิงตั้งครรภ์                                    จำนวน           37      คน

                * เด็ก 0 – 5 ปี                                     จำนวน           983    คน

2.       กลุ่มเด็กโต/วัยเรียน (อายุ 6 - 24 ปี)      จำนวน        3518     คน

3.       กลุ่มวัยทำงาน (อายุ 25 - 59 ปี)            จำนวน       7,318     คน

4.       กลุ่มผู้สูงอายุ                                       จำนวน       2,175     คน

5.       กลุ่มคนพิการ                                       จำนวน        266      คน

 

ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละของประชากร ปี 2562 จำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ

กลุ่มอายุ(ปี)

เพศ

รวม

ชาย (คน)

ร้อยละ

หญิง (คน)

ร้อยละ

จำนวน (คน)

ร้อยละ

0-4

491

3.04

481

2.98

972

6.01

5-9

564

3.49

539

3.33

1,103

6.82

10-14

610

3.77

529

3.27

1,139

7.05

15-19

504

3.12

492

3.04

996

6.16

20-24

535

3.31

549

3.40

1,084

6.71

25-29

570

3.53

609

3.77

1,179

7.29

30-34

618

3.82

609

3.77

1,227

7.59

35-39

707

4.37

684

4.23

1,391

8.61

40-44

688

4.26

672

4.16

1360

8.41

45-49

702

4.34

620

3.84

1,322

8.18

50-54

582

3.60

608

3.76

1,190

7.36

55-59

473

2.93

479

2.96

952

5.89

60-64

347

2.15

333

2.06

680

4.21

65-69

206

1.27

268

1.66

474

2.93

70-74

155

0.96

205

1.27

360

2.23

75-79

122

0.75

148

0.92

270

1.67

80-84

76

0.47

138

0.85

214

1.32

85-89

58

0.36

84

0.52

142

0.88

90-94

29

0.18

49

0.30

78

0.48

95-99

11

0.07

15

0.09

26

0.16

100 ปีขึ้นไป

0

0.00

3

0.02

3

0.02

รวม

๘,๐๔๘

49.80

8,114

50.20

16,162

100.00

ที่มา : ทะเบียนราษฎร์ อำเภอบ้านตาขุน  (1 พ.ย. 2562)

        ข้อมูลประชากรอำเภอบ้านตาขุน จากทะเบียนราษฎร์(11 พ.ย. 2562) มีประชากรทั้งหมด  16,162 คน แยกเป็นเพศชาย 8,048 คน คิดเป็นร้อยละ 49.80 และเพศหญิง 8,114 คน คิดเป็นร้อยละ 50.20 ประชากรเพศชายและเพศหญิง มีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน เมื่อพิจารณาเป็นกลุ่มอายุ พบว่า ช่วงอายุ 35-39 มีมากที่สุด จำนวน 1391 คน คิดเป็นร้อยละ 8.61 รองลงมาเป็นช่วงอายุ 40-44 ปี จำนวน 1360 คิดเป็นร้อยละ 8.41 และช่วงอายุ 45-49 จำนวน 1322 คน คิดเป็นร้อยละ 8.18 ตามลำดับ

แผนภาพที่ 2 ปิระมิดประชากรอำเภอบ้านตาขุน ปี 2562

          จากปิรามิดประชากรของอำเภอบ้านตาขุนพบว่าเป็นแบบเสถียร (stable pyramid) ที่มีรูปแบบคล้ายกับระฆังคว่ำหรือมีโครงสร้างประชากรที่คงที่ ซึ่งแสดงถึงรูปแบบของอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรที่ไม่เปลี่ยนแปลง ประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ  35 - 39 ปี ร้อยละ 8.61 รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 45 - 49 ปี ร้อยละ 8.18  และ 30 - 34 ปี ร้อยละ 7.59 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลประชากรของจังหวัดสุราษฎร์ธานีและของประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นวัยทำงาน สำหรับในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ในขณะนี้สัดส่วนของผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สำหรับของอำเภอ  บ้านตาขุน มีอัตรา ร้อยละ 13.36 ซึ่งใกล้เคียงกับระดับประเทศ คือร้อยละ 14.90 ส่งผลให้สถานบริการสุขภาพต้องรับภาระในการดูแลด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะโรคเรื้อรังต่างๆ ที่มีอุบัติการณ์ของโรค ในอำเภอบ้านตาขุนเพิ่มมากขึ้นในประชากรกลุ่มนี้

          การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นจะก่อให้เกิดปรากฏการณ์สำคัญที่มีผลต่ออำเภอบ้านตาขุนอย่างมากนั่นคือการมีผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจากจำนวนเด็กที่ลดลงในขณะที่ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกประมาณ 15 ปีข้างหน้า จำนวนเด็กจะใกล้เคียงกับผู้สูงอายุและหลังจากนั้นจะเกิดปรากฏการณ์มีผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก ถ้าใช้ดัชนีผู้สูงอายุ (Ageing index) เพื่อเปรียบเทียบระหว่างจำนวนผู้สูงอายุกับเด็ก 100 คนพบว่าอำเภอบ้านตาขุนมีอัตราร้อยละ 66.78  ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศไทยที่มีอัตราร้อยละ 65 (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม : การฉายภาพประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2548 - 2568, มหาวิทยาลัยมหิดล)   

สรุป  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรในอนาคตจะส่งผลในด้านต่างๆ ดังนี้

          1) สังคมไทยเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีวัยแรงงานมาก (อายุ 25 - 59 ปี) เป็นสังคมของผู้สูงอายุโดยพบผู้ที่มีอายุยืนมากขึ้นแต่จะขาดแคลนแรงงานที่จะป้อนสู่ภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและธุรกิจต่างๆปัญหาที่จะตามมาคืออาจต้องมีการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ ซึ่งรัฐต้องมีมาตรการในการควบคุมให้ดีและ มีประสิทธิภาพเนื่องจากส่งผลถึงความมั่นคงของประเทศ เช่น ปัญหาอาชญากรรมและโรคติดต่อ

          2) การปรับนโยบายในการบริหารประเทศทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเนื่องจากการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุจะส่งผลต่อการลดลงของรายได้เฉลี่ยของประชากรและส่งผลต่อรายได้จากเงินภาษีของรัฐลดลงด้วย แต่รัฐจะต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นเช่น การประกันสังคม สุขภาพอนามัย และสวัสดิการของผู้สูงอายุ เป็นต้น

          3) รูปแบบของการพึ่งพากันระหว่างกลุ่มประชากรในช่วงอายุต่างๆจะเปลี่ยนไป โดยพบว่าโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปจะทำให้จำนวนประชากรในวัยเด็กที่ต้องพึ่งพิงวัยทำงานลดลง แต่กลับมีวัยผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงวัยทำงานมากขึ้น ส่งผลต่อปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งมีมากขึ้นตามลำดับ

          4) ส่งเสริมการประกอบธุรกิจที่ใช้แรงงานจากผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โดยภาครัฐและเอกชนควรมีนโยบายในการส่งเสริมการประกอบอาชีพที่ให้ผู้สูงวัยเหล่านี้ได้เข้ามาทำงานมากขึ้นก็จะช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจได้

1.10 ข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข
       1.10.1 สถานบริการสาธารณสุข

          1)  สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ

                   - โรงพยาบาล ขนาด  30  เตียง                          จำนวน    1  แห่ง

                   - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล                    จำนวน    6  แห่ง

                   2)  สถานบริการสาธารณสุขของรัฐวิสาหกิจ

                   -  สถานพยาบาลเขื่อนรัชชประภา                       จำนวน    1  แห่ง

3)  สถานบริการสาธารณสุขของเอกชน

                     - คลินิกเวชกรรม                                            จำนวน     2  แห่ง

              - คลินิกทันตกรรม                                          จำนวน     1  แห่ง

                     - คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์              จำนวน     4  แห่ง

              - คลินิกกายภาพบำบัด                                    จำนวน     1  แห่ง

                     - ร้านขายยา                                                   จำนวน     9  แห่ง

                        * แผนปัจจุบันที่มีเภสัชกร(ขย.1)             จำนวน     7  แห่ง

                        * แผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ (ขย.2)              จำนวน     1  แห่ง

                        * แผนโบราณ                                       จำนวน     1  แห่ง                                                                                               

     1.10.2 บุคลากรสาธารณสุข

               จำนวนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขทั้งหมด จำนวน 172 คน (รายละเอียด ตารางที่ 5)

 

ตารางที่ 5  ข้อมูลบุคลากรสาธารณสุขอำเภอบ้านตาขุน

ลำดับ

ประเภทบุคลากร

รพช.

สสอ.

รพ.สต.

รวม

อัตรา:ประชากร

1

แพทย์

4

-

-

4

1 : 4,040

2

ทันตแพทย์

2

-

-

2

1 : 8,081

3

เภสัชกร

5

-

-

5

1 : 3,232

4

พยาบาลวิชาชีพ

32

-

3

35

         1 : 462

5

นักวิชาการสาธารณสุข

8

6

10

27

         1 : 599

6

นักวิชาการเงินและบัญชี

1

-

-

1

 1 : 16,162

7

นักวิชาการคอมพิวเตอร์

2

-

-

2

1 : 8,081

8

แพทย์แผนไทย

3

-

2

5

1 : 3,232

9

นักกายภาพบำบัด

3

-

1

4

1 : 4,040

10

นักเทคนิคการแพทย์

3

-

-

3

1 : 5,387

11

นักรังสีการแพทย์

-

-

-

0

  1 : 1,6162

12

เจ้าพนักงานสาธารณสุข

-

-

5

5

 1 : 3,232

13

เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข

3

-

1

4

1 : 4040

14

เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

3

-

-

3

1 : 5,387

15

16

17

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี

เจ้าพนักงานธุรการ

เจ้าหน้าที่อื่นๆ

4

10

56

-

1

1

-

-

-

4

11

57

1 : 4,040

1 : 1,469

         1 : 284

รวม

139

8

21

172

 

 

ข้อมูล ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน  256๒

 

ตารางที่ 6   ข้อมูลการรับผิดชอบงานสาธารณสุขในชุมชน

ตำบล

สถานบริการ

จำนวน

หมู่บ้าน

หลังคาเรือน

ตามทะเบียนราษฎร์

จำนวนประชากร

จำนวน

เจ้าหน้าที่

G.I.S

(1:1,250)

พรุไทย

รพ.สต.พรุไทย

9

1,059

2,797

5

1 : 589

เขาพัง

รพ.สต.เขาพัง

3

823

1,252

2

1 : 626

รพ.สต.บ้านเชี่ยวหลานฯ

2

1079

3,332

7

1 : 476

พะแสง

รพ.สต.พะแสง

4

410

1,990

3

1 : 663

รพ.สต.บ้านปากน้ำ

5

598

1,622

3

1 :541

เขาวง

รพ.สต.บ้านวังขุม

2

307

1,014

3

1 : 338

รพ.บ้านตาขุน (งานเวชฯ)

4

2,542

4,155

7

1 : 594

รวม

29

7,525

16,162

23

1 : 703

 

1.10.3 อาสาสมัครสาธารณสุข  จำนวน 4๕๑ คน (รายละเอียด ตารางที่ 7)

ตารางที่ 7   ข้อมูลการรับผิดชอบงานสาธารณสุขในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข

สถานบริการ

หลังคาเรือน

ทะเบียนราษฎร์

อสม.

ความครอบคลุม

ปฏิบัติงานจริง

รับค่า

ป่วยการ

เป้าหมาย   (1 : 15)

ผลงาน

รพ.บ้านตาขุน

2,542

94

94

169

1 : 27

รพ.สต.บ้านวังขุม

307

28

27

55

1 : 11

รพ.สต.พรุไทย

1,059

98

98

72

1 : 11

รพ.สต.พะแสง

๔๑๐

50

49

27

          1 : 8

รพ.สต.บ้านปากน้ำ

598

56

54

40

1 : 11

รพ.สต.เขาพัง

823

39

38

20

1 : 21

รพ.สต.เชี่ยวหลาน-ไกรสร

1079

86

82

72

1 : 13

รวม

7,525

451

442

455

1 : 17

          ที่มา : งานสุขภาพภาคประชาชน

อำเภอบ้านตาขุน มี อสม.ที่ปฏิบัติงานในชุมชน  ทั้งหมด  451  คนและได้รับเงินค่าป่วยการร้อยละ 98.00 ในด้านความครอบคลุมในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่นั้นเป้าหมาย อสม. 1 คน : 15 หลังคาเรือน  พบว่าถ้าพิจารณาภาพรวมของเครือข่ายฯตามหลังคาเรือนทะเบียนราษฎร์ มีอัตรา 1 คนต่อ 17 หลังคาเรือน ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด แต่ถ้าพิจารณาหลังคาเรือนจากการสำรวจที่มีอยู่จริงพบว่ามีความครอบคลุมในภาพรวมถึงอัตรา 1 คนต่อ 17 หลังคาเรือนซึ่งครอบคลุมตามเกณฑ์ที่กำหนด