Background



ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
30 พฤศจิกายน 544

0


แผนที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุไทย

 

แผนที่แสดงหมู่บ้านและเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุไทย

 

1.1 ประวัติโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุไทย

          ตำบลพรุไทยเดิมขึ้นอยู่กับอำเภอคีรีรัฐนิคม  ต่อมาบ้านตาขุน ได้แยกออกมาในฐานะกิ่งอำเภอ  ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย  ลงวันที่  4  กรกฎาคม  2516  และได้ยกฐานะเป็นอำเภอตามพระราชกฤษฎีกา   เมื่อวันที่  9  กันยายน   2519 แต่เดิมเล่ากันว่ามีแอ่งน้ำอยู่กลางบ้าน  ซึ่งภาษาท้องถิ่นภาคใต้เรียกกันว่า พรุ จึงเรียกขานบ้านนี้ว่า  บ้านพรุสยาม  เมื่อประเทศสยามเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทย  บ้านพรุสยามก็เปลี่ยนชื่อตามเป็น บ้านพรุไทย จวบจนปัจจุบัน

          สถานีอนามัยตำบลพรุไทย  เดิมเป็นสำนักงานผดุงครรภ์  ก่อสร้างด้วยทุนผูกพัน  โดยนางปรีดา  ศักดา  เมื่อปี พ.ศ. 2512  โดยได้รับบริจาคที่ดินจาก  นายคอย  ทองสัมฤทธิ์ จำนวน2 ไร่ เศษ ต่อมาเมื่อปี 2517  ได้รับงบประมาณก่อสร้างสถานีอนามัย   1 หลัง พร้อมบ้านพักเจ้าหน้าที่  2  หลังได้รับการปรับปรุงต่อเติม 1 ครั้ง ด้วยเงินงบประมาณ 

          ในปีงบประมาณ 2539  ได้รับงบประมาณ  สร้างบ้านพัก  เพิ่มเติม 1 หลัง  และได้รับมอบที่ดินสาธารณะบ้านหาดคัน  จากสภาตำบลพรุไทยจำนวน 5 ไร่เศษ ห่างจากบริเวณเดิมประมาณ 300 เมตร เป็นที่ก่อสร้าง ต่อมาปี 2540 ได้รับงบประมาณ มาสร้าง สถานีอนามัยขนาด 150  ตารางเมตรทดแทน สถานีอนามัย  หลังเดิมซึ่งชำรุดตามกาลเวลา  และได้ย้ายมาเปิดบริการประชาชนที่สถานีอนามัย  หลังปัจจุบัน  เมื่อวันที่   2 กุมภาพันธ์  2541  ต่อมา ในปี 2552 สถานีอนามัยตำบลพรุไทย ได้รับการยก ระดับเป็น  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุไทย  เปิดทำการมาเป็นระยะเวลา  50  

 

1.2 ที่ตั้ง

           โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลพรุไทยตั้งอยู่ เลขที่ 76 หมู่ที่ 1 ตำบลพรุไทย อำเภอบ้าน  ตาขุน  จังหวัดสุราษฎร์ธานี บนเนื้อที่ 5 ไร่ เศษ ห่างจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านตาขุน ประมาณ 7 กิโลเมตร และห่างจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประมาณ 80 กิโลเมตรโดยใช้ทางหลวงที่401 สุราษฎร์ – ตะกั่วป่า ตำบลพรุไทยมีเนื้อที่ประมาณ 37.10 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 23,188 ไร่ (ที่มาจากการสำรวจ / งานทะเบียนกรมการปกครอง)

          อาณาเขต

ทิศเหนือ             จด ตำบลกะเปา                                 อำเภอคีรีรัฐนิคม

ทิศใต้                 จด ตำบลพะแสง                                อำเภอบ้านตาขุน

ทิศตะวันออก       จด ตำบลพรุไทย (คลองพุมดวง)             อำเภอบ้านตาขุน

ทิศาตะวันตก        จด ตำบลเขาพัง                                อำเภอบ้านตาขุน

 

1.3 ลักษณะทางภูมิศาสตร์

         ภูมิประเทศ

เป็นที่ราบ ติดกับแม่น้ำพุมดวง ลักษณะภูมิอากาศอากาศร้อน ฝนตกตลอดทั้งปี

มีแม่น้ำพุมดวงไหลผ่าน เป็นแนวกั้นพรมแดนระหว่างตำบลพรุไทย กับตำบลเขาวง มีความสำคัญทางการ    การเกษตรกรรม  และ  การประมง

          ภูมิอากาศ

เป็นแบบร้อนชื้น  มี  2  ฤดู  คือ  ฤดูฝน  เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนมกราคม  และฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม  ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้น จึงมีเพียง  2  ฤดูเท่านั้น

 

1.4 การปกครอง

มีการแบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2475 ตำบลพรุไทย แบ่งเป็น 9 หมู่บ้าน และในปัจจุบันมีการปกครองท้องถิ่นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลพรุไทย 1 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุไทย รับผิดชอบ ทั้งหมด 9 หมู่บ้าน ประกอบด้วย

 

ตารางที่ 1 ตารางแสดงผู้นำแต่ละหมู่บ้านในปัจจุบันของตำบลพรุไทย

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนหลังคาเรือน

ชื่อผู้นำหมู่บ้าน

1

บ้านหาดคัน

74

นายสุเมธ  ปาลคะเชนทร์

2

บ้านบนทุ่ง

101

นายสนั่น  ยศเมฆ

3

บ้านทวีสุข

101

นายพงศา  พรมทอง 

4

บ้านบางเน่า

35

นายธนดล  ทองสัมฤทธิ์

5

บ้านพรุศรี

43

นายสมพร  รักกะเปา

6

ท่าพรุไทย

68

นางสาวณิชาภัทร  มะลิวัลย์

7

คลองพิกุล

95

นายประสิทธิ  สายหยุด (กำนันตำบลพรุไทย)

8

เชี่ยวขวาน

56

นายณรงค์ชัย  ชุมเชื้อ

9

ควนทอง

115

นายวัชรินทร์  วัฒนชัย

รวม

688

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา : ข้อมูลจากการสำรวจ ณ 1 ตุลาคม 2562

 

1.5 โครงสร้างพื้นฐาน

การคมนาคม

การคมนาคมของประชาชนในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุไทย มีถนนสายหลัก สายบ้านตาขุน - เขื่อนรัชประภา  ถนนสายรอง เส้นทางภายในหมู่บ้านมีถนนคอนกรีตและถนนลาดยางเชื่อมต่อกันระหว่างหมู่บ้าน    ประชาชนสามารถสัญจรไปมาได้ตลอดฤดูกาล

การสื่อสาร/การไฟฟ้า

มีระบบโทรศัพท์ติดต่อได้ทั้งระบบมีสาย และไร้สายคลอบคลุมพื้นทีส่วนใหญ่ มีไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน

การประปา

มีการประปาของ อบต.พรุไทย จำนวน 1 แห่ง   และมีประปาของหน่วยงานอื่นๆทุกหมู่บ้าน

 

1.6 เศรษฐกิจ

ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยอาชีพหลัก ของประชาชนส่วนใหญ่ ได้แก่ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ สวนปาล์ม อาชีพรองได้แก่การปลูกพืชระยะสั้น และการเลี้ยงสัตว์ ประชากรมีรายได้โดยเฉลี่ย 73,985 .39 บาท/คน/ปีและมีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ (23,000 บาท/คน/ปี) ร้อยละ 0.8 (รายงานคุณภาพชีวิตของประชาชนอำเภอบ้านตาขุน สำนักงานพัฒนาชุมชน , 2560 : 11)

 

1.7 สังคม

การศึกษา

โรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา  จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่โรงเรียนบ้านเชี่ยวขวาน และโรงเรียนวัด พรุศรี

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชี่ยวขวาน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนทอง

 

ข้อมูลของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ

ตารางที่ 1 จำนวนนักเรียนและสถานศึกษาในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.พรุไทย ปีการศึกษา 2563

ระดับการศึกษา

 

โรงเรียน

ปฐมวัย (อนุบาล)

ประถมศึกษา

มัธยมศึกษา/ขยายโอกาส

ห้องเรียน

นร.

ครู

ห้องเรียน

นร.

ครู

ห้องเรียน

นร.

ครู

โรงเรียนวัดพรุศรี

2

22

2

6

84

6

3

39

3

โรงเรียนบ้านเชี่ยวขวาน

2

20

2

6

54

6

-

-

-

รวม

4

44

4

12

138

12

3

39

3

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มี  2 แห่ง มี ครูจำนวน 4 คน นักเรียนทั้งหมด  135 คน ดังนี้  

           1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนทอง                   ครู    2   คน      เด็ก    29 คน

           2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชี่ยวขวาน                ครู    2   คน      เด็ก     29  คน

ศูนย์สุขภาพชุมชน        9       แห่ง

หอกระจายข่าว              5       แห่ง

 

ศาสนา

วัด 1 แห่ง คือวัดพรุศรี  (เดิมชื่อวัดพรุสยาม) ตั้งอยู่หมู่ที่  5  ตำบลพรุไทย มีพระสงฆ์จำนวน 5 รูป และสำนักสงฆ์บ้านควนทอง มีพระสงฆ์ จำนวน 3 รูปและสามเณรจำนวน 2 รูปประชาชนนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 100

 

1.8 ประชากร (ณ วันที่ 1  กรกฎาคม  2562)

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุไทย  รับผิดชอบ  จำนวน  688 หลังคาเรือน

ประชากรรวมทั้งหมด             จำนวน           2,801           คน

ประชากรชาย                       จำนวน           1,388            คน

ประชากรหญิง                      จำนวน           1,377            คน

 

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนหลังคาเรือนและประชากรจำแนกรายหมู่บ้าน ปี 2563

หมู่ที่/ชื่อบ้าน

จำนวนหลังคาเรือน

ประชากร

จากทะเบียนราษฎร์

ประชากร

จากการสำรวจ

ทะเบียนราษฎร์

สำรวจ

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

หมู่ที่ 1  บ้านหาดคัน

74

82

175

174

349

150

161

311

หมู่ที่ 2  บ้านบนทุ่ง

101

101

213

182

395

242

210

452

หมู่ที่ 3  บ้านทวีสุข

101

89

193

194

387

204

197

401

หมู่ที่ 4  บ้านบางเน่า

35

42

89

91

180

94

100

194

หมู่ที่ 5  บ้านพรุศรี

43

44

100

96

196

88

91

179

หมู่ที่ 6  บ้านท่าพรุไทย

68

64

132

139

271

131

155

286

หมู่ที่ 7  บ้านคลองพิกุล

95

89

167

152

319

204

177

381

หมู่ที่ 8  บ้านเชี่ยวขวาน

56

44

96

102

198

112

117

229

หมู่ที่ 9  บ้านควรทอง

115

113

230

218

448

258

255

513

รวม

688

678

1,388

1,377

2,743

1,483

1,463

2,946

ที่มา : ข้อมูลทะเบียนราษฎร์จากสำนักทะเบียนราษฎร์อำเภอบ้านตาขุน (ณวันที่ 1 กรกฎาคม 2562)

       : ข้อมูลสำรวจได้จากการสำรวจของ อสม.(ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2562)

 

ตารางที่ 3 จำนวนประชากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุไทย แยกตามกลุ่มอายุ

จำนวนประชากร

ประชากรชาย

ประชากรหญิง

รวม

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

0 – 4

89

3.24

80

2.92

169

6.16

5 – 9

99

3.61

88

3.21

187

6.82

10 – 14

79

2.88

85

3.10

164

5.98

15 – 19

98

3.57

83

3.03

181

6.60

20 – 24

91

3.32

98

3.57

189

6.89

25 – 29

121

4.41

99

3.61

220

8.02

30 – 34

125

4.56

127

4.63

252

9.19

35 – 39

132

4.81

124

4.52

256

9.33

40 – 44

153

5.58

119

4.34

272

9.92

45 – 49

107

3.90

99

3.61

206

7.51

50 – 54

86

3.14

73

2.66

159

5.80

55 – 59

50

1.82

63

2.30

113

4.12

60 – 64

46

1.68

45

1.64

91

3.32

65 – 69

36

1.31

40

1.46

76

2.77

70 – 74

32

1.17

47

1.71

79

2.88

75 - 79

22

0.80

32

1.17

54

1.97

80 – 84

18

0.66

26

0.95

44

1.60

85 - 89

8

0.29

17

0.62

25

0.91

90 - 94

2

0.07

3

0.11

5

0.18

95-99

1

0.04

0

0.00

1

0.04

100 ปีขึ้นไป

0

0.00

0

0.00

0

0.00

รวม

1,388

50.86

1,377

49.14

2,801

100

 

ที่มา  :  ข้อมูลทะเบียนราษฎร์จากสำนักทะเบียนราษฎร์อำเภอบ้านตาขุน (ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2562)

 

ปิระมิดประชากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุไทย

จากปิระมิดประชากรตำบลพรุไทย   ปี  2563   จะเห็นได้ว่า เป็นปิรามิดรูประฆังคว่ำ โดยพบว่า  ประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุวัยทำงาน อายุตั้งแต่ 25 ปี ถึง อายุ 44 ปี ซึ่งช่วงอายุประชากรของเพศชายที่มากที่สุด อยู่ในช่วงอายุ 40-44 ปี ร้อยละ 4.85 และช่วงอายุประชากรของเพศหญิงที่มากที่สุด คือ ช่วงอายุ 30-39 ปี ร้อยละ 4.03 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลประชากรของอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานีและของประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นวัยทำงาน สำหรับในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป (ที่มา:ข้อมูลประชากรปี 2563 จากโปรแกรม jHCIS รพ.สต.พรุไทย)

จากการคาดการณ์ถึงโครงสร้างของประชากร ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงในอนาคต คือ มีการลดลงของประชากรในวัยก่อนเจริญพันธุ์และมีการเพิ่มขึ้นของประชากรของผู้สูงอายุนั้น จะส่งผลในด้านต่างๆ ดังนี้คือ

              1. สังคมไทยเปลี่ยนจากสังคมที่มีวัยแรงงานมากอายุ 25-59 ปี) เป็นสังคมของผู้สูงอายุโดยจะพบผู้ที่มีอายุยืนมากขึ้น แต่จะขาดแคลนแรงงานที่จะป้อนสู่ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจต่างๆ ปัญหาที่จะพบตามมาคือ อาจต้องมีการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ ทั้งนี้รัฐต้องมีมาตรการในการควบคุมดูแลการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศให้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากจะส่งผลถึงความมั่นคงของประเทศได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่ผิดกฏหมายทั้งหลายเพราะอาจนำมาซึ่งปัญหาอาชกรรมต่างๆ ได้

               2. การปรับนโยบายในการบริหารประเทศทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุจะส่งผลต่อการลดลงของรายได้เฉลี่ยของประชากร และส่งผลต่อรายได้จากเงินภาษีอากรของรัฐลดลงด้วย แต่รัฐจะต้องมีรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในด้านที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ เช่น การประกันสังคม สุขภาพอนามัย และสวัสดิการของผู้สูงอายุต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้รัฐก็ได้มีการเตรียมความพร้อมของการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุไว้บ้างแล้ว จะเห็นได้จากการจัดทำแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที 2 พ.ศ 2545--2564น ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น

               3. รูปแบบของการพึ่งพิงกันระหว่างกลุ่มประชากรในช่วงอายุต่างๆ จะเปลี่ยนไป โดยพบว่าโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปนี้จะทำให้จำนวนประชากรในวัยเด็กที่ต้องพึ่งพิงวัยทำงานลดลง แต่กลับมีวัยผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงวัยทำงานเพิ่มขึ้น เมื่อวัยเด็กลดลงก็จะส่งผลต่อการลดลงของวัยผู้ใหญ่ที่เป็นวัยทำงานด้วย  ถ้าหากวัยผู้สูงอายุมากกว่าวัยทำงาน ก็จะพบกับปัญหาของการขาดที่พึ่งพิงของกลุ่มคนสูงอายุ ในแต่ละครอบครัวก็จะมีสมาชิกที่จะดูแลผู้สูงอายุน้อยลง ปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งก็จะมีมากขึ้นตามลำดับ

                4. ส่งเสริมการประกอบธุรกิจที่ใช้แรงงานจากผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น ผู้สูงวัยในปัจจุบันพบว่ามีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนเพิ่มมากขึ้น และสุขภาพก็ยังคงแข็งแรงเฉกเช่นเดียวกับวัยทำงาน หากภาครัฐและเอกชนมีนโยบายในการส่งเสริมการประกอบอาชีพที่ให้ผู้สูงวัยเหล่านี้ได้เข้ามาทำงานมากขึ้นก็จะช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจได้  หรืออาจจะขยายระยะเวลาในการประกอบอาชีพจากเดิมที่กำหนดให้มีการเกษียณอายุในวัย60 ปี อาจเพิ่มเป็น 65 ปี ดังเช่นหลายๆ ประเทศ ทั้งนี้ควรดำเนินการในเชิงนโยบายให้เป็นรูปธรรม เป็นต้น

                ที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างของแนวทางในการวางแผนเพื่อการก้าวไปสู่สังคมของผู้สูงอายุ แต่ทั้งนี้ในส่วนของประชากรของประเทศเองก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย กล่าวคือต้องมีการเตรียมความพร้อมของสมาชิกในครอบครัว มีการวางแผนการใช้ชีวิตในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ต่างๆ เพื่อให้เกิดภาระที่น้อยที่สุดของสมาชิกในครอบครัวและต่อสังคมโดยรวม

 

1.9 ข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข

        1.9.1 สถานบริการสาธารณสุข

              1. สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ

                     -   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล                  จำนวน     1   แห่ง

              2. สถานบริการสาธารณสุขของเอกชน

              -  คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์              จำนวน      2   แห่ง

1.9.2 บุคลากรสาธารณสุข

                   จำนวนบุคลากรทางด้านสาธารณสุข     ทั้งหมด     จำนวน  4 คน ดังนี้

 - นักวิชาการสาธารณสุข   2 คน (ปฏิบัติงานในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ 1 คน)

 - เจ้าพนักงานสาธารณสุข 1 คน

 - แพทย์แผนไทย   1 คน

 

ตารางที่ 4 ข้อมูลการรับผิดชอบงานสาธารณสุขในชุมชนของเจ้าหน้าที่รพ.สต.พรุไทย

อันดับ

ชื่อผู้รับผิดชอบ

หมู่บ้าน

จำนวน

หลังคาเรือน

ตามทะเบียนราษฎร์ (หลัง)

จำนวนประชากร

(คน)

G.I.S

1:1,250

สรุป

1

นางฉลวย หมานพัฒน์

2,4,8

189

757

1:757

 

 

 

เกิน 0.54 คน

2

นางนันทา  พลประชิต

1,5,6

188

816

1:816

3

น.ส.รุจิรา  สินธู

3,7,9

311

1,145

1:1,145

4

น.ส.เขมจิรา  พิเดช

1-9

688

2,801

1:2,801

รวม

9

688

2,801

1:700

 

จากตารางที่ 4 พบว่า ข้อมูลการรับผิดชอบงานสาธารณสุขในชุมชนของเจ้าหน้าที่ รพ.สต. พรุไทย โดย เจ้าหน้าที่ 1 คน รับผิดชอบ 700 ใบหน้า ซึ่ง G.I.S กำหนด เจ้าหน้าที่ 1 คน รับผิดชอบ 1,250 ใบหน้า

 

1.10 ข้อมูลสถานะสุขภาพ

ตารางที่ 5 แสดงจำนวนและอัตราเกิด/ตาย/เพิ่มของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุไทย พ.ศ. 2560 - 2563

สถานะสุขภาพ

.ศ.  2560

ประชากร

2,721 คน

.ศ.  2561

ประชากร

 2,968 คน

.ศ.  2562

ประชากร

2,769 คน

.ศ.  2563

ประชากร

2,801 คน(มค63)

จำนวน

(คน)

อัตรา

จำนวน

(คน)

อัตรา

จำนวน

(คน)

อัตรา

จำนวน(คน)

อัตรา

1. เกิด (ต่อ ประชากร 1,000 คน)

30

11.03

25

8.42

30

10.83

0

0

2. ตาย (ต่อ ประชากร 1,000 คน)

7

2.60

5

1.68

5

1.81

3

1.07

3. อัตราเพิ่มประชากรตามธรรมชาติ (ร้อยละ)

23

0.85

20

0.67

25

0.9

-

-

ที่มา : สูติบัตรและมรณะบัตร

อัตราการเกิดและการตายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มลดลงตามลำดับ ซึ่งส่งผลให้อัตราเพิ่มประชากรตามธรรมชาติ ต่ำกว่าเกณฑ์ (แผนฯ 1 กำหนดอัตราเพิ่มประชากรตามธรรมชาติเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 1.2 ) คือ 0.85, 0.67 และ 0.9 ตามลำดับสำหรับในปี 2563) พบว่า ยังไม่มีประชากรเกิด คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้อัตราการเพิ่มประชากรตามธรรมชาติลดลงไปด้วย    

 

ตารางที่ 6 สาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอกจำแนกตามกลุ่มสาเหตุ (21 กลุ่มโรค)  ที่สำคัญ  10 อันดับแรกปี 2560 -  ปี 2563 (ม.ค 63)

ลำดับ

กลุ่มโรค

.ศ.  2560

ประชากร

2,721คน

.ศ.  2561

ประชากร

 2,968 คน

.ศ.  2562

ประชากร

2,769 คน

.ศ.  2563

ประชากร

2,801 คน

จำนวน

(ราย)

อัตรา

จำนวน

(ราย)

อัตรา

จำนวน

(ราย)

อัตรา

จำนวน

(ราย)

อัตรา

1.

โรคระบบหายใจ

89

9388

412

13,881

375

13,543

293

10,681

2.

โรคระบบกล้ามเนื้อ รวมโครงร่างและเนื้อยึดเสริม

51

5380

912

33,431

226

8,162

363

13,233

3.

โรคผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง

90

9494

47

1,722

21

758

35

1,276

4.

โรคระบบย่อยอาหาร รวมโรคในช่องปาก

8

856

244

8,944

216

7,800

140

5,104

5.

โรคตา รวมส่วนประกอบของตา

14

1,499

46

1,686

57

2,058

460

16,770

6.

โรคติดเชื้อและปรสิต

7

750

19

696

24

866

13

473

7.

โรคระบบไหลเวียนเลือด

0

0.0

623

22,837

0

0

0

0

8.

ภาวะแปรปรวนทางจิตและพฤติกรรม

2

214

3

109

2

72.23

2

72.91

9.

อาการ อาการแสดงและสิ่งผิดปกติอื่น

131

14,026

111

20,323

141

5,092

456

16,624

10.

สาเหตุอื่นที่ทำให้ป่วยหรือตาย

203

21,734

186

11,470

969

34,994

773

28,180

อัตรา  ต่อ  แสนประชากร

ที่มา : รายงาน  504  ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุไทย

จากตารางพบว่าสาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอก ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุไทย 3 อันดับแรก คือ โรคระบบหายใจ โรคระบบกล้ามเนื้อ และโรคผิวหนัง สำหรับในปี 2563 สาเหตุอื่นที่ทำให้ป่วยหรือตายซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาก และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของปีนี้

 

ตารางที่ 7 สาเหตุการตายของประชากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุไทยปี 2555 - 2558

ลำดับ

สาเหตุการตาย

.ศ.  2560

ประชากร

2,721คน

.ศ.  2561

ประชากร

 2,968 คน

.ศ.  2562

ประชากร

2,769 คน

.ศ.  2563

ประชากร

2,801 คน

จำนวน(คน)

อัตรา

จำนวน(คน)

อัตรา

จำนวน(คน)

อัตรา

จำนวน(คน)

อัตรา

1.

ระบบไหลเวียนเลือด

0

0

3

101.08

2

72.23

1

36.46

2.

อุบัติเหตุทางถนน

0

0

2

67.38

0

 

0

 

3.

โรคระบบหายใจ

0

0

1

33.70

0

 

1

 

4.

โรคไต

0

0

0

0

1

36.11

0

36.46

5.

มะเร็ง

2

73.50

0

0

0

 

0

 

 

- ชราภาพ

1

36.75

3

101.08

1

36.11

0

 

- เป็นลม

0

0

0

0

0

 

0

 

6.

อื่นๆ (ฆ่าตัวตาย , จมน้ำ)

0

0

0

0

2

72.23

1

36.46

อัตรา  ต่อ  แสนประชากร

ที่มา  :  มรณะบัตร

โรคระบบไหลเวียนเลือด : ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคระบบไหลเวียนเลือด แต่ในปี พ.ศ. 2561 มีอัตราตายสูงกว่าเกณฑ์มากคือ 101.08 ต่อแสนประชากร (เป้าหมายอัตราเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจไม่เกิน 23 ต่อแสนประชากร)

โรคมะเร็ง : ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยตายด้วยโรคมะเร็งในปี 2560 อัตรา 73.50 ต่อแสนประชากร สำหรับปี พ.ศ. 2563 ไม่มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้

อุบัติเหตุทางถนน : ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยอุบัติเหตุทางถนน แต่ในปี 2561 ได้เกิดอุบัติเหตุหมู่ทำให้มีผู้เสียชีวิต อัตรา 67.38 ต่อแสนประชากร (เป้าหมายไม่เกิน 20 ต่อแสนประชากร)