Background



ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
30 พฤศจิกายน 544

0


แผนทีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากน้ำ

 

1.1 ประวัติชุมชน

หมู่บ้านปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อ ประมาณ พ.ศ. 2495 โดยมีผู้บุกเบิกคือ นายเนิ่น คชไกร แต่เดิมเป็นป่าดงดิบมีชาวบ้านอพยพมาจากอำเภอคีรีรัฐนิคม มาบุกเบิก ทำไร่ ทำสวน มีประชากร ประมาณ 100 คน การปกครองหมู่บ้านในสมัยนั้น ตั้งเป็นทำเนียบมีนายบ้านเป็นผู้ดูแล สภาพพื้นที่ด้านหลังหมู่บ้านมีลำคลองสองสายไหลมาบรรจบกันพอดี คือ คลองแสงและคลองศก จึงเรียกว่าบ้านปากน้ำมาจนถึงทุกวันนี้ สถานีอนามัยบ้านปากน้ำ ดำเนินการก่อสร้างโดยงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี 2534 โดยใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน จำนวน 7 ไร่ 50 ตารางวา ในปี 2548 ได้ปรับปรุงอาคารด้านล่างเป็นที่ทำการโดยใช้งบประมาณของเครือข่ายบริการสุขภาพ บ้านตาขุนและในปี 2554 ได้ปรับปรุงอาคารและยกระดับเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากน้ำ จนปัจจุบัน

 

1.2 ทำเลที่ตั้ง

1.2.1 ที่ตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากน้ำ

ตั้งอยู่เลขที่ 34 หมู่ที่ 2 ตำบลพะแสง อำเภอบ้านตาขุน  จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านตาขุน ประมาณ 3 กิโลเมตร และห่างจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประมาณ 73 กิโลเมตร โดยใช้ทางหลวงที่ 401 สุราษฎร์ – ตะกั่วป่า มีเนื้อที่ประมาณ 18 ตารางกิโลเมตร  มีพี้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 5 หมู่บ้าน หมู่ที่ 1, 2, 3, 7  และหมู่ที่ 9

1.2.2 อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ                  ติดต่อกับ         ตำบลพรุไทย

ทิศใต้                     ติดต่อกับ         แม่น้ำพุมดวง

ทิศตะวันออก            ติดต่อกับ         แม่น้ำพุมดวง

ทิศตะวันตก              ติดต่อกับ         ตำบลเขาพัง

 

1.3 ลักษณะทางภูมิศาสตร์

1.3.1 ภูมิประเทศ

              สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่ราบสูงประมาณ  90% ของพื้นที่ทั้งหมด และมีแหล่งน้ำ 10% มีต้นน้ำที่เกิดจากภูเขาในเขตเทศบาลบ้านเชี่ยวหลานตำบลเขาพัง เรียกว่า “คลองแสง” ไหลผ่านตำบลพะแสงเรียกว่า “คลองพุมดวง” แล้วไหลผ่านตำบลเขาวง ตำบลพรุไทย ผ่านไปยังอำเภอคีรีรัฐนิคม

1.3.2 ภูมิอากาศ

           ลักษณะภูมิอากาศอยู่ในเกณฑ์อบอุ่นสบายและค่อนข้างชื้นมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27.58 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์ 75 % มีเพียง 2 ฤดูคือฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม –มกราคม และ ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน

 

1.4 การปกครอง

1.4.1 การปกครองส่วนท้องถิ่น

มีองค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่ง มีนายถาวร วิเศษ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ดูแลพื้นที่ 9 หมู่บ้าน มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 2 แห่ง คือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากน้ำมีหมู่บ้านที่รับผิดชอบ 5 หมู่บ้าน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพะแสงมีหมู่บ้านที่รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน มีจำนวนสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล 18 คน

ตารางที่ 1 การแบ่งเขตการปกครองของตำบลพะแสง

หมู่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนหลังคาเรือน

ชื่อผู้นำหมู่บ้าน

1

บ้านตาขุน

279

นายธงชัย ชูเพชร

2

บ้านปากน้ำ

49

นายมานะ  พัดนวน

3

บ้านปากซวด

72

นายเอกลักษณ์ ชัยธรรม

7

บ้านท้ายเชี่ยว

52

น.ส.จิรารัตน์  ทองจันทร์

9

บ้านคลองหินขาว

146

นายอนุรักษ์  ไชยนาเคนทร์

 

ข้อมูลจากการสำรวจ  ณ 2 มกราคม 2563

 

1.5 ทรัพยากรธรรมชาติ/แหล่งท่องเที่ยว

         มีพืชทางเศรษฐกิจในชุมชนคือ สวนยางพารา  สวนปาล์ม และผลไม้เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง

 

1.6 โครงสร้างพื้นฐาน

         1.6.1 การคมนาคม

         การคมนาคมของประชาชนในตำบลพะแสง  มีถนนสายเขื่อนรัชชประภา ตัดผ่าน ม.1 และ ม.9 และเส้นทางภายในหมู่บ้าน  มีถนนคอนกรีตและถนนราดยางเชื่อมต่อกันระหว่างหมู่บ้าน ประชาชนสามารถสัญจรไปมาได้ตลอดฤดูกาล

         ถนนสายเขื่อนรัชชประภา ผ่าน หมู่ที่ 1, 9 ระยะทาง 6 กม.

         ถนนลาดยางสายพรุไทย ผ่าน หมู่ที่ 1, 7 ระยะทาง 2 กม.

         ถนนลาดยางและหินคลุกสายตำบล หมู่ที่ 6, 5, 4, 9 ระยะทาง 9.5 กม.

         ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสาย และถนนหินคลุก ผ่านหมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 8 ระยะทาง 9 กม.

         1.6.2 การสื่อสาร

         มีการส่งเอกสารทางไปรษณีย์  มีโทรศัพท์สาธารณะ และประชาชนส่วนใหญ่นิยมใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เกือบทุกหลังคาเรือน และมีการสื่อสารอื่นๆทั้งวิทยุและโทรทัศน์

         1.6.3 การไฟฟ้า

         เขตตำบลพะแสง เป็นเขตชุมชนกึ่งชนบท ระบบการไฟฟ้าขยายทั่วถึงทั้งตำบล ประชากรมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน ทำให้ประชาชนมีสิ่งอำนวยความสะดวกคือมีเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ครบทุกครัวเรือน   

         1.6.4 การประปา

          ประชาชนในตำบลพะแสงส่วนใหญ่ ได้รับการบริการด้านการประปาจากกิจการประปาขององค์การบริหารส่วนตำบลพะแสงจำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่หมู่ที่ 2, 5, 6 ส่วนที่เหลือเป็นกิจการประปาหมู่บ้าน และบางส่วนจากการประปาส่วนภูมิภาค 

 

1.7 เศรษฐกิจ

         ครัวเรือนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษรตรกรรม มีพื้นที่ทำการเกษตร 19,967 ไร่ ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพทำสวนปาล์ม  98 ครัวเรือน  ผลผลิตโดยเฉลี่ยไร่ละ 600-700 กก. ทำสวนยางพารา มีพื้นที่ 12,457 ไร่ และครัวเรือนที่มีอาชีพสวนยางประมาณ 524 ครัวเรือน ผลผลิตจากการทำสวนยางพาราโดยเฉลี่ย 267 แผ่น/ไร่ การทำสวนผลไม้ มีพื้นที่ 1,904 ไร่ และครัวเรือนที่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ ประมาณ 450 ครัวเรือน ผลผลิตผลไม้ต่อปีต่อครัวเรือนโดยเฉลี่ย 40,000 - 50,000  บาท/ครัวเรือน

 

1.8 สังคม

1.8.1 ระบบการศึกษา

ในพื้นที่ รพ.สต.บ้านปากน้ำ ตำบลพะแสง  มีการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษาและการศึกษานอกระบบ

 

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนนักเรียนและสถานศึกษา ปีการศึกษา 2562

  • การศึกษาในระบบราชการ

ลำดับที่

ชื่อโรงเรียน

จำนวนนักเรียน

ครู

 

ก่อนประถมฯ

ประถม (1-6)

 

1

โรงเรียนบ้านตาขุน

37

141

11

2

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาขุน

41

-

2

รวม

78

141

13

 

โรงเรียนบ้านตาขุน ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านตาขุน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 2 ฝั่งตรงข้าม รพ.สต.บ้านปากน้ำ ในปี 2561 (เปิดทำการ 16 พ.ค.60  ตามกำหนดการ) 

  • การศึกษานอกระบบ ระดับมัธยมต้น 11 คน มัธยมปลาย 8 คน ครู 3 คน

1.8.2 ศาสนา

ประชาชนนับถือศาสนาต่างๆ ดังนี้ นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99.50 และนับถือ ศาสนาอื่น ร้อยละ ๐.50 ในพื้นที่ไม่มีศาสนสถาน ประชาชนส่วนใหญ่จะทำพิธีทางศาสนา ณ วัดตาขุนหรือ วัดพะแสง

 

1.9 ประชากร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากน้ำ รับผิดชอบ จำนวน 598 หลังคาเรือน

ประชากรรวมทั้งหมด                 จำนวน           2,054  คน

ประชากรชาย                         จำนวน             1,013   คน

ประชากรหญิง                         จำนวน             1,041 คน

ตารางที่ 3 จำนวนประชากรกลางปี จำแนกรายหมู่บ้าน

 

หมู่

 

หมู่บ้าน

ปี / จำนวน (คน)

พ.ศ. 2560

พ.ศ.2561

พ.ศ.2562

พ.ศ.2563

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

1

บ้านตาขุน

403

424

827

403

424

827

451

472

923

472

472

963

2

ปากน้ำ

85

86

171

85

86

171

85

92

177

85

93

178

3

ปากซวด

155

154

309

155

155

309

149

149

298

147

150

297

7

บ้านท้ายเชี่ยว

91

106

197

91

106

197

93

105

198

94

105

199

9

คลองหินขาว

195

194

389

195

194

389

207

193

400

215

202

417

รวม

929

964

1,893

929

965

1,893

985

1,011

1,596

1,013

1,041

2,054

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา : ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ประชากรกลางปี  2560 – ปี 2563 (2 มกราคม 2563)

 

ตารางที่ 4 จำนวนประชากรและจำนวนครัวเรือน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากน้ำปีงบประมาณ  2563

 

หมู่ที่/ชื่อบ้าน

ประชากร

จากทะเบียนราษฎร์

ประชากร

จากการสำรวจ

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

1.บ้านตาขุน

472

472

963

280

329

609

2.ปากน้ำ

85

93

178

58

62

120

3.ปากซวด

147

150

297

88

97

185

7.บ้านท้ายเชี่ยว

94

105

199

62

72

134

9.คลองหินขาว

215

202

417

163

160

323

รวม

1,013

1,041

  2,054

651

720

1,371

ที่มา : ข้อมูลทะเบียนราษฎร์และการสำรวจ ณ วันที่ 1 มกราคม 2563

ข้อมูลประชากรจากทะเบียนราษฎร์จะมีมากกว่าจากสำรวจ หมู่ที่ 1 บ้านตาขุน มีประชากรมากที่สุดคือ 963 คน  มีการขยายบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว  ซึ่งที่ตั้งของชุมชนอยู่ใกล้เขตเทศบาลบ้านตาขุน รองลงมาคือหมู่ที่ 9 บ้านคลองหินขาว มีประชากร 417 คน เป็นที่ตั้งของอบต.พะแสงติดเส้นทางคมนาคมการท่องเที่ยวทำให้ตึก อาคารพานิชย์เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วและน้อยสุดคือหมู่ 2 บ้านปากน้ำ มีประชากร 178 คน ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากน้ำ

 

ข้อมูลประชากรตามกลุ่มวัย (ชุดสิทธิประโยชน์) ในปี 2563

  1. กลุ่มแม่และเด็ก

* หญิงตั้งครรภ์                                              จำนวน      0    คน

* เด็ก 1– 5 ปี                                                จำนวน    96    คน

  1. กลุ่มเด็กโต (อายุ 6-25 ปี)                                 จำนวน    339     คน
  2. กลุ่มผู้ใหญ่ (อายุ 25-60 ปี)                               จำนวน    665     คน
  3. กลุ่มผู้สูงอายุ                                                   จำนวน    217     คน
  4. กลุ่มผู้พิการ                                                     จำนวน    27       คน

 

ตารางที่ 5 จำนวนและร้อยละของประชากรปีงบประมาณ  2563  จำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ

กลุ่มอายุ(ปี)

เพศ

รวม

ชาย (คน)

ร้อยละ

หญิง (คน)

ร้อยละ

จำนวน (คน)

ร้อยละ

0-4

46

2.24

47

2.29

93

4.53

5-9

71

3.46

73

3.55

144

7.01

10-14

61

2.97

70

3.41

131

6.38

15-19

69

3.36

61

2.97

130

6.33

20-24

71

3.46

62

3.02

133

6.48

25-29

73

3.55

77

3.75

150

7.30

30-34

77

3.75

92

4.48

169

8.23

35-39

104

5.06

95

4.63

199

9.69

40-44

99

4.82

89

4.33

188

9.15

45-49

67

3.26

63

3.07

130

6.33

50-54

72

3.51

78

3.80

159

7.74

55-59

60

2.92

58

2.82

118

5.74

60-64

45

2.19

60

2.92

105

5.11

65-69

34

1.66

36

1.75

70

3.41

70-74

15

0.73

22

1.07

37

1.80

75-79

20

0.97

19

0.93

39

1.90

80-84

13

0.63

20

0.97

33

1.61

85 ปีขึ้นไป

16

0.78

19

0.93

35

1.70

รวม

1,013

49.32

1,041

50.68

2,054

100.00

ที่มา : ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ 1 มกราคม 2563

 

แผนภูมิที่ 1 แสดงปิรามิดประชากร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากน้ำ

         จากปิรามิดประชากรในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากน้ำ พบว่าเป็นแบบเสถียร (stable pyramid) ที่มีรูปแบบคล้ายกับระฆังคว่ำหรือมีโครงสร้างประชากรที่คงที่ ซึ่งแสดงถึงรูปแบบของอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรที่ไม่เปลี่ยนแปลง ประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ  35 -39 ปี ร้อยละ 9.69 รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 40 - 44 ปี ร้อยละ 9.15 และ 30-34 ปี ร้อยละ 8.23  ตามลำดับ  ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลประชากรของอำเภอบ้านตาขุนและของจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นวัยทำงาน สำหรับในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ในขณะนี้สัดส่วนของผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สำหรับเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากน้ำ มีอัตราร้อยละ 15.53 ส่งผลให้สถานบริการสุขภาพต้องรับภาระในการดูแลด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะโรคเรื้อรังต่างๆ ที่มีอุบัติการณ์ของโรคในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านปากน้ำ เพิ่มมากขึ้นในประชากรกลุ่มนี้

          การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นจะก่อให้เกิดปรากฏการณ์สำคัญที่มีผลต่ออำเภอบ้านตาขุนอย่างมากนั่นคือการมีผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจากจำนวนเด็กที่ลดลงในขณะที่ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกประมาณ 15 ปีข้างหน้า จำนวนเด็กจะพอๆกับผู้สูงอายุ และหลังจากนั้นจะเกิดปรากฏการณ์มีผู้สูงอายุมากกว่าเด็กโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงสะท้อนให้เห็นลักษณะการพึ่งพิงกันระหว่างประชากรกลุ่มต่างๆเมื่อโครงสร้างประชากรเปลี่ยนไป

สรุป  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรในอนาคตจะส่งผลในด้านต่างๆ ดังนี้

          1) สังคมไทยเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีวัยแรงงานมาก (อายุ 25 - 59 ปี) เป็นสังคมของผู้สูงอายุโดยจะพบผู้ที่มีอายุยืนมากขึ้น แต่จะขาดแคลนแรงงานที่จะป้อนสู่ภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและธุรกิจต่างๆปัญหาที่จะตามมาคืออาจต้องมีการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ ซึ่งรัฐต้องมีมาตรการในการควบคุมให้ดีและมีประสิทธิภาพเนื่องจากส่งผลถึงความมั่นคงของประเทศ เช่น ปัญหาอาชญากรรมและโรคติดต่อ

          2) การปรับนโยบายในการบริหารประเทศทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเนื่องจากการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุจะส่งผลต่อการลดลงของรายได้เฉลี่ยของประชากรและส่งผลต่อรายได้จากเงินภาษีของรัฐลดลงด้วย แต่รัฐจะต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นเช่น การประกันสังคม สุขภาพอนามัย และสวัสดิการของผู้สูงอายุ เป็นต้น

          3) รูปแบบของการพึ่งพากันระหว่างกลุ่มประชากรในช่วงอายุต่างๆจะเปลี่ยนไป โดยพบว่าโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปจะทำให้จำนวนประชากรในวัยเด็กที่ต้องพึ่งพิงวัยทำงานลดลง แต่กลับมีวัยผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงวัยทำงานมากขึ้น ส่งผลต่อปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งมีมากขึ้นตามลำดับ

          4) ส่งเสริมการประกอบธุรกิจที่ใช้แรงงานจากผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โดยภาครัฐและเอกชนควรมีนโยบายในการส่งเสริมการประกอบอาชีพที่ให้ผู้สูงวัยเหล่านี้ได้เข้ามาทำงานมากขึ้นก็จะช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจได้

 

1.10 ข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข

          1.10.1 สถานบริการสาธารณสุข

1) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ

          1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากน้ำ               1        แห่ง

2) สถานบริการสาธารณสุขของเอกชน

          1.คลินิกกายภาพบำบัด                                       -       แห่ง

                         2.ร้านขายยา                                                     2       แห่ง

          1.10.2 บุคลากรสาธารณสุข

               1. ผู้อำนวยการรพ.สต.บ้านปากน้ำ            จำนวน          1        คน

 2. นักวิชาการสาธารณสุข                        จำนวน          2        คน

 3. พยาบาลวิชาชีพ                                 จำนวน           0       คน

        อัตราบุคลากรสาธารณสุขต่อหลังคาเรือน     1 : 199

        อัตราบุคลากรสาธารณสุขต่อประชากร        1 : 684

 

ตารางที่ 7   ข้อมูลบุคลากรสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากน้ำ

ลำดับ

ชื่อ-สกุล

ตำแหน่ง

วุฒิการศึกษา

อายุราชการ

  1.  

นายธนาวุฒิ  รัตนชัย

ผู้อำนวยการรพ.สต.บ้านปากน้ำ

ปริญญาโทสาธารณสุขศาสตร์

24 ปี

  1.  

น.ส.นพพรรษชล ศรีคำ

นักวิชาการสาธารรสุขชำนาญการ

วิทยาศาสตร์บัณฑิต

(สาธารณสุขชุมชน)

18 ปี

  1.  

น.ส.สุวนันท์ แซ๋ลิ่ม

นักวิชาการสาธารรสุข

วิทยาศาสตร์บัณฑิต

(สาธารณสุขศาสตร์)

1 ปี

 
 

ตารางที่ 8  ข้อมูลการรับผิดชอบงานสาธารณสุขในชุมชนของบุคลากรสาธารณสุขจำแนกรายบุคคล

ลำดับที่

ชื่อ-สกุล

พื้นที่รับผิดชอบ

จำนวนหลังคาเรือน

จำนวนประชากร

  1.  

นายธนาวุฒิ  รัตนชัย

หมู่ที่ 7,9

198

457

  1.  

น.ส.นพพรรษชล ศรีคำ

หมู่ที่ ๑1

279

609

  1.  

น.ส.สุวนันท์ แซ่ลิ่ม

หมู่ที่ 2,3

121

305

 

         1.10.3 อาสาสมัครสาธารณสุข    จำนวน 54 คน 

 

ตารางที่ 9   ข้อมูลการรับผิดชอบงานสาธารณสุขในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข

หมู่

จำนวนหลังคาเรือน

 

อสม.

ความครอบคลุม

เป้าหมาย 1:15

ทะเบียนราษฎร์

สำรวจ

ปฏิบัติงานจริง

รับค่า

ป่วยการ

ทะเบียนราษฎร์

สำรวจ

บ้านตาขุน

279

271

26

26

1 : 11

1 : 10

บ้านปากน้ำ

49

48

7

7

1 : 7

1 : 6

บ้านปากซวด

72

72

9

9

1 : 8

1 : 8

บ้านท้ายเชี่ยว

52

56

5

1 : 10

1 : 11

บ้านคลองหินขาว

146

131

7

7

1 : 20

1 : 18

รวม

598

578

54

54

1 : 11

1 : 10

 

          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากน้ำ มีอสม.ที่ปฏิบัติงานในชุมชนทั้งหมด 54 คนและได้รับเงินค่าป่วยการ 54 คน ในด้านความครอบคลุมในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่นั้น เป้าหมายอสม.

1 คน : 15 หลังคาเรือน พบว่าถ้าพิจารณาภาพรวมตามหลังคาเรือนทะเบียนราษฎร์ มีอัตรา 1 คนต่อ 11 หลังคาเรือน ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด แต่ถ้าพิจารณาหลังคาเรือนจากการสำรวจที่มีอยู่จริงพบว่ามีความครอบคลุมในภาพรวม อัตรา 1 คนต่อ 10 หลังคาเรือน ซึ่งปีงบประมาณ 2563 ส่วนอสม.เชี่ยวชาญแต่ละสาขา ทั้ง 11 สาขาจำนวน 54 คน ครอบคลุมตามเกณฑ์ที่กำหนด