0
แผนที่ รพ.สต.บ้านเชี่ยวหลาน-ไกรสร
1.1 ประวัติศาสตร์
ประวัติชุมชนบ้านไกรสร
ก่อนที่จะมีการอนุมัติโครงการก่อสร้างเขื่อนรัชชประภา หรือเขื่อนเชี่ยวหลาน เพื่อปิดกั้นลำน้ำ คลองแสงที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง
ในปี พ.ศ.2525 นั้น บริเวณดังกล่าวประกอบไปด้วยพื้นที่ 2 ตำบลคือ ตำบลไกรสร และตำบลเขาพัง โดย ตำบลไกรสร
มีทั้งหมด 5 หมู่บ้าน คือ
หมู่ที่ 1 บ้านบางแก้ว
หมู่ที่ 2 บ้านปากแปะ
หมู่ที่ 3 บ้านไกรสร
หมู่ที่ 4 บ้านปากหยี
หมู่ที่ 5 บ้านวังขอน
ปัจจุบันทั้ง 5 หมู่บ้านได้จมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา
ตำบลเขาพัง มีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน คือ
หมู่ที่ 1 บ้านเขาเทพพิทักษ์
หมู่ที่ 2 บ้านหน้าเขา
หมู่ที่ 3 บ้านหน้าฮะ
หมู่ที่ 4 บ้านปากอม
หมู่ที่ 5 บ้านบ้านบางเคียน
หมู่ที่ 6 บ้านในมุย
หมู่ที่ 7 บ้านปากมุย
ปัจจุบันหมู่ที่4,5,6 และ7 ได้จมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา เนื้อที่น้ำท่วมประมาณ 140,000 กว่าไร่
หลังจากการปิดกั้นอุโมงค์ระบายน้ำแล้ว ก็ได้แปรสภาพเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดยครอบคลุมพื้นที่ตำบลไกรสรทั้งหมด และหมู่ที่ 4,5,6,7 ตำบลเขาพัง
ซึ่งชาวบ้านทั้งสองตำบลที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้จัดสรรที่อยู่อาศัยให้ ครอบครัวละ 1 ไร่ และที่ทำกินครอบครัวละ 19 ไร่ โดยให้ชาวบ้านจับฉลากเพื่อจัดสรรที่ดินดังกล่าว ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2527 และสร้างบ้านเรือนในที่ดิน ที่ได้รับการจัดสรรให้ เรียงรายเป็นชุมชนใหญ่ชาวบ้านจึงเรียกว่า หมู่บ้านจัดสรร (หมู่ 4,5) ต่อมาทางชุมชนได้เปลี่ยนเป็นหมู่บ้านเชี่ยวหลาน
ชุมชนบ้านไกรสรพัฒนาแต่เดิมเป็นสถานที่ว่างเปล่าที่ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้จัดสรรให้ซึ่งพื้นทีอยู่ในตำบลเขาพัง หมู่ที่ 4 (ปัจจุบันเป็นเทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน) ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีพื้นที่ขนาดใหญ่ และมีจำนวนครัวเรือนและและประชากรมาก และเพื่อสะดวกในการดูแลบริหารการจัดการปกครองของทางเทศบาล เทศบาล จึงได้กำหนดและแยกออกเป็นชุมชนโดยให้แต่ละชุมชนมีชื่อของแต่ละชุมชนซึ่งแบ่งออกเป็น 12 ชุมชน ทางเทศบาลได้คณะกรรมการของแต่ละชุมชนตั้งชื่อชุมชนของตนเองขึ้นมา เลยตั้งชื่อว่า ชุมชนบ้านไกรสรพัฒนามาตั้งแต่ พ.ศ.2547 ซึ่งชื่อชุมชนดังกล่าวอ้างอิงมาจาก ชุมชนเก่าดั้งเดิมตั้งแต่ก่อนสร้างเขื่อน โดยยึดหลัก จำนวนบ้านเรือนที่มีอยู่มากในหมู่บ้านไกรสร และปากแปะเป็นหลัก คนในชุมชนส่วนใหญ่จึงเล็งเห็นว่าควรอนุรักษ์ เอาชื่อตำบลเดิมไว้เป็นอนุสรณ์
ประวัติโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเชี่ยวหลาน-ไกรสร
อาคารหลังแรก อาคารหลังปัจจุบัน
สถานีอนามัยบ้านเชี่ยวหลาน – ไกรสร ดำเนินการก่อสร้างโดยงบประมาณของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทดแทนสถานีอนามัยตำบลไกรสร ซึ่งเป็นพื้นที่อ่างเก็บน้ำของเขื่อนรัชชประภา เมื่อปี 2526 และได้รับงบประมาณก่อสร้าง สถานีอนามัยทดแทน ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม 2551 และเมื่อ 2553 ได้ยกระดับเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 บ้านไกรสร ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ จำนวน 15 ไร่ การคมนาคม โดยถนนหลวงสาย 401 สุราษฎร์ธานี – ตะกั่วป่า แยกเข้าเขื่อนรัชชประภา กิโลเมตรที่ 58 ถึงทางแยก แยกขวา ประมาณ 1 กิโลเมตร มีรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างวิ่งรับส่งผู้โดยสารตลอดทั้งวัน ปัจจุบันได้มีรถตู้ให้บริการด้วย
1.2 ทำเลที่ตั้ง
1.2.1 ที่ตั้ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านเชี่ยวหลาน-ไกรสร หมู่ที่ 4 บ้านไกรสร ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านตาขุนมาทางทิศตะวันออกประมาณ 10 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดมาทางทิศตะวันตกประมาณ 70 กิโลเมตร
1.2.2 อาณาเขต ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีทั้งหมด 5 หมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเชี่ยวหลาน-ไกรสร รับผิดชอบ 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 4 , 5 อาณาเขตติดต่อมีดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ 2 ตำบลพรุไทย ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ 1 ตำบลเขาพัง ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ 9 ตำบลพรุไทย ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ 1 ตำบลเขาพัง
1.3 ลักษณะทางภูมิศาสตร์
1.3.1 ภูมิประเทศ ภูมิประเทศของตำบลเขาพัง เป็นพื้นที่ราบค่อนข้างสูง ลักษณะเป็นภูเขาและป่าไม้
1.3.2 ภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศอยู่ในเกณฑ์อบอุ่นสบายและค่อนข้างชื้น มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 - 35 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์ 83 % มีเพียง 2 ฤดู คือฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึง พฤษภาคม และฤดูฝน ตั้งแต่เดือน มิถุนายน – ธันวาคม ปริมาณและการกระจายของฝน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบ 3 ปี (ปี 2559 - 2561) 1,274.24 มิลลิเมตร/ปี
1.4 การปกครอง
1.4.1 การปกครอง การแบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2475 ตำบลเขาพัง แบ่งเป็น 5 หมู่บ้าน และในปัจจุบันมีการปกครองท้องถิ่นเป็นเทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเชี่ยวหลาน – ไกรสร รับผิดชอบ ทั้งหมด 2 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 4 บ้านไกรสรและหมู่ที่ 5 บ้านเชี่ยวหลาน
ตารางที่ 1 การแบ่งเขตการปกครองในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านเชี่ยวหลาน-ไกรสร
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนหลังคาเรือน |
ชื่อผู้นำหมู่บ้าน |
4 |
บ้านไกรสร |
695 |
นายสุเชษฐ์ ถาพร |
5 |
บ้านเชี่ยวหลาน |
384 |
นายสุรินทร์ ศรีสวัสดิ์ |
ที่มา : ทะเบียน ทต.บ้านเชี่ยวหลาน
1.5 ทรัพยากรธรรมชาติ/แหล่งท่องเที่ยว
ตำบลเขาพังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่
1. เขื่อนรัชชประภา/อ่างเก็บน้ำเขื่อน/สนามกอล์ฟ 18 หลุม
2. อุทยานแห่งชาติเขาสก
1.6 โครงสร้างพื้นฐาน
1.6.1 การคมนาคม
การคมนาคมของประชาชนในตำบลเขาพังใช้เส้นทางเขื่อนรัชชประภาเป็นหลัก ภายในหมู่บ้านมีเส้นทางหลักสำคัญ 1 สาย คือ สายแบ่งเขตหมู่บ้าน และใช้เส้นทางภายในหมู่บ้านที่เชื่อมติดต่อกันระหว่างซอย ในการเดินทางติดต่อภายใน ซึ่งถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนลาดยางและคอนกรีตที่สามารถใช้การได้ตลอดปี
1.6.2 การสื่อสาร
ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์และได้ติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม และมีใช้โทรศัพท์มือถือเกือบทุกหลังคาเรือน การประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของทางเทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน
1.6.3 การไฟฟ้า ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ครบทุกหลังคาเรือน
1.6.4 การประปา มีประปาหมู่บ้านจำนวน 1 แห่ง
1.7 เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจขึ้นกับการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากยางพารา ปาล์มน้ำมัน รองลงมาคือการท่องเที่ยว การค้าขายและการปศุสัตว์ รายได้เฉลี่ยของบุคคล 67,741 บาท/คน/ปี (ฐานข้อมูล เทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน, 2562)
1.8 สังคม
1.8.1 การศึกษา
โรงเรียนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเชี่ยวหลาน-ไกรสร มีการจัดการศึกษาทุกระดับตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา
ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 จำนวนนักเรียนและสถานศึกษาเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเชี่ยวหลาน-ไกรสร
ปีการศึกษา 2562
โรงเรียน |
ปฐมวัย (คน) |
ประถมศึกษา (คน) |
มัธยมศึกษา (คน) |
||||||
ชาย |
หญิง |
รวม |
ชาย |
หญิง |
รวม |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
โรงเรียนบ้านพัฒนา |
18 |
22 |
40 |
86 |
74 |
160 |
- |
- |
- |
โรงเรียนบ้านพัฒนา 2 |
23 |
17 |
40 |
62 |
53 |
115 |
- |
- |
- |
โรงเรียนรัชชประภาวิทยาคม |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
76 |
100 |
176 |
รวม |
41 |
39 |
80 |
148 |
127 |
275 |
76 |
100 |
176 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มี 1 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน มี ครูจำนวน 5 คน นักเรียนทั้งหมด 76 คน
1.8.2 ศาสนา
ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านเชี่ยวหลาน-ไกรสร ประชาชนนับถือศาสนาต่างๆ ดังนี้ นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99.50 มีวัดจำนวน 1 แห่ง นับถือ ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.50
1.9 ประชากร
ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านเชี่ยวหลาน-ไกรสร มีหลังคาเรือนทั้งหมดจำนวน 1,079 หลังคาเรือน และมีประชากรกลางปี 2562 จำนวน 3,331 คน เพศชาย 1,657 คน คิดเป็นร้อยละ 49.74 เพศหญิง 1,674 คน คิดเป็นร้อยละ 50.26 รายละเอียด ดังตารางที่ 3 และ 4
ตารางที่ 3 จำนวนประชากรและจำนวนครัวเรือน เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านเชี่ยวหลาน-ไกรสร
หมู่ที่/หมู่บ้าน |
หลังคาเรือน (ทะเบียนราษฎร์) |
จำนวนประชากร |
|||
|
ชาย |
หญิง |
รวม |
||
|
ม.4 บ้านไกรสร |
695 |
1,098 |
1,084 |
2,182 |
|
ม.5 บ้านเชี่ยวหลาน |
384 |
559 |
590 |
1,149 |
|
รวม |
1,079 |
1,657 |
1,674 |
3,331 |
ที่มา : ทะเบียนราษฎร์ เทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน (1 ก.ค. 2562)
ข้อมูลประชากรตามกลุ่มวัย (ชุดสิทธิประโยชน์)
1. กลุ่มแม่และเด็ก
* หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 25 คน
* เด็ก 0 – 5 ปี จำนวน 268 คน
2. กลุ่มเด็กโต (อายุ 6 - 25 ปี) จำนวน 1,002 คน
3. กลุ่มผู้ใหญ่ (อายุ 25 - 60 ปี) จำนวน 1,719 คน
4. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 372 คน
5. กลุ่มผู้พิการ จำนวน 59 คน
ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละของประชากร จำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ
กลุ่มอายุ(ปี) |
เพศ |
รวม |
||||
ชาย (คน) |
ร้อยละ |
หญิง (คน) |
ร้อยละ |
จำนวน (คน) |
ร้อยละ |
|
0-4 |
113 |
3.39 |
106 |
3.18 |
219 |
6.57 |
5-9 |
142 |
4.26 |
118 |
3.54 |
260 |
7.80 |
10-14 |
142 |
4.26 |
131 |
3.93 |
273 |
8.19 |
15-19 |
135 |
4.05 |
114 |
3.42 |
249 |
7.47 |
20-24 |
113 |
3.39 |
125 |
3.75 |
238 |
7.14 |
25-29 |
126 |
3.78 |
151 |
4.53 |
277 |
8.31 |
30-34 |
121 |
3.63 |
125 |
3.75 |
246 |
7.38 |
35-39 |
151 |
4.53 |
147 |
4.41 |
298 |
8.94 |
40-44 |
133 |
3.99 |
119 |
3.57 |
252 |
7.56 |
45-49 |
132 |
3.96 |
133 |
3.99 |
247 |
7.42 |
50-54 |
103 |
3.09 |
114 |
3.42 |
217 |
6.51 |
55-59 |
76 |
2.28 |
100 |
3.00 |
176 |
5.28 |
60-64 |
66 |
1.98 |
51 |
1.53 |
128 |
3.84 |
65-69 |
30 |
0.90 |
44 |
1.32 |
74 |
2.22 |
70-74 |
30 |
0.90 |
36 |
1.08 |
66 |
1.98 |
75-79 |
20 |
0.60 |
18 |
0.54 |
38 |
1.14 |
80-84 |
11 |
0.33 |
24 |
0.72 |
35 |
1.05 |
85-89 |
8 |
0.24 |
11 |
0.33 |
19 |
0.57 |
90-94 |
4 |
0.12 |
6 |
0.18 |
10 |
0.30 |
95-99 |
1 |
0.03 |
1 |
0.03 |
2 |
0.06 |
100 ปีขึ้นไป |
0 |
0.00 |
0 |
0.00 |
0 |
0.00 |
รวม |
1,657 |
49.74 |
1,674 |
50.26 |
3,331 |
100.00 |
ที่มา : ทะเบียนราษฎร์ อำเภอบ้านตาขุน (1 ก.ค. 2562)
ตารางที่ 5 จำนวนประชากรกลางปี 2560 - 2562 รพ.สต.บ้านเชี่ยวหลาน-ไกรสร
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
||
ปี 2560 |
ปี 2561 |
ปี 2562 |
||
4 |
บ้านไกรสร |
2,140 |
2,159 |
2,182 |
5 |
บ้านเชี่ยวหลาน |
1,175 |
1,171 |
1,149 |
รวม |
3,315 |
3,330 |
3,331 |
ที่มา : ทะเบียนราษฎร์ เทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน
แผนภาพที่ 2 แสดงปิรามิดประชากรในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านเชี่ยวหลาน – ไกรสร ปี 2562
จากปิรามิดประชากรในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเชี่ยวหลาน-ไกรสรพบว่าเป็นแบบเสถียร (stable pyramid) ที่มีรูปแบบคล้ายกับระฆังคว่ำหรือมีโครงสร้างประชากรที่คงที่ ซึ่งแสดงถึงรูปแบบของอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรที่ไม่เปลี่ยนแปลง ประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 35 – 39 ปี ร้อยละ 8.94 รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 25 – 29 ปี ร้อยละ 8.31 และ 10 – 14 ปี ร้อยละ 8.19 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลประชากรของอำเภอบ้านตาขุนและของจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นวัยทำงาน สำหรับในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ในขณะนี้สัดส่วนของผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สำหรับเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเชี่ยวหลาน-ไกรสร มีอัตราร้อยละ 11.16 ส่งผลให้สถานบริการสุขภาพต้องรับภาระในการดูแลด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะโรคเรื้อรังต่างๆ ที่มีอุบัติการณ์ของโรคในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านเชี่ยวหลาน-ไกรสร เพิ่มมากขึ้นในประชากรกลุ่มนี้
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นจะก่อให้เกิดปรากฏการณ์สำคัญที่มีผลต่ออำเภอบ้านตาขุนอย่างมากนั่นคือการมีผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจากจำนวนเด็กที่ลดลงในขณะที่ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกประมาณ 15 ปีข้างหน้า จำนวนเด็กจะพอๆกับผู้สูงอายุ และหลังจากนั้นจะเกิดปรากฏการณ์มีผู้สูงอายุมากกว่าเด็กโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงสะท้อนให้เห็นลักษณะการพึ่งพิงกันระหว่างประชากรกลุ่มต่างๆเมื่อโครงสร้างประชากรเปลี่ยนไป
สรุป การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรในอนาคตจะส่งผลในด้านต่างๆ ดังนี้
1) สังคมไทยเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีวัยแรงงานมาก (อายุ 25 - 59 ปี) เป็นสังคมของผู้สูงอายุโดยจะพบผู้ที่มีอายุยืนมากขึ้น แต่จะขาดแคลนแรงงานที่จะป้อนสู่ภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและธุรกิจต่างๆปัญหาที่จะตามมาคืออาจต้องมีการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ ซึ่งรัฐต้องมีมาตรการในการควบคุมให้ดีและมีประสิทธิภาพเนื่องจากส่งผลถึงความมั่นคงของประเทศ เช่น ปัญหาอาชญากรรมและโรคติดต่อ
2) การปรับนโยบายในการบริหารประเทศทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเนื่องจากการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุจะส่งผลต่อการลดลงของรายได้เฉลี่ยของประชากรและส่งผลต่อรายได้จากเงินภาษีของรัฐลดลงด้วย แต่รัฐจะต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นเช่น การประกันสังคม สุขภาพอนามัย และสวัสดิการของผู้สูงอายุ เป็นต้น
3) รูปแบบของการพึ่งพากันระหว่างกลุ่มประชากรในช่วงอายุต่างๆจะเปลี่ยนไป โดยพบว่าโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปจะทำให้จำนวนประชากรในวัยเด็กที่ต้องพึ่งพิงวัยทำงานลดลง แต่กลับมีวัยผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงวัยทำงานมากขึ้น ส่งผลต่อปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งมีมากขึ้นตามลำดับ
4) ส่งเสริมการประกอบธุรกิจที่ใช้แรงงานจากผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โดยภาครัฐและเอกชนควรมีนโยบายในการส่งเสริมการประกอบอาชีพที่ให้ผู้สูงวัยเหล่านี้ได้เข้ามาทำงานมากขึ้นก็จะช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจได้
1.10 ข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข
1.10.1 สถานบริการสาธารณสุข
1) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1 แห่ง
2) สถานบริการสาธารณสุขของเอกชน
- คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จำนวน 1 แห่ง
1.10.2 บุคลากรสาธารณสุข
ข้อมูลบุคลากรสาธารณสุข รพ.สต.บ้านเชี่ยวหลาน - ไกรสร
1.ผอ.รพ.สต. (นักวิชาการสาธารณสุข) จำนวน 1 คน
2.พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 1 คน
3.นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 1 คน
4.แพทย์แผนไทย จำนวน 1 คน
5.จพ.สาธารณสุข จำนวน 1 คน
6.จพ.ทันตสาธารณสุข จำนวน 1 คน
7.นักกายภาพบำบัด จำนวน 1 คน
8.อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 86 คน
9.ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย จำนวน 4 คน
ตารางที่ 6 ข้อมูลการรับผิดชอบงานสาธารณสุขในชุมชน
สถานบริการ |
จำนวน หมู่บ้าน |
หลังคาเรือน ตามทะเบียนราษฎร์ |
จำนวนประชากร |
จำนวน เจ้าหน้าที่ |
G.I.S (1:1,250) |
รพ.สต.บ้านเชี่ยวหลานฯ |
2 |
1,079 |
3,331 |
7 |
1 : 476 |
1.10.3 อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 86 คน (รายละเอียด ตารางที่ 7)
ตารางที่ 7 ข้อมูลการรับผิดชอบงานสาธารณสุขในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
หลังคาเรือน สำรวจ/ทะเบียนราษฎร์ |
อสม. |
ความครอบคลุม
|
|
ปฏิบัติงานจริง (คน) |
รับค่าป่วยการ(คน) |
||||
4 |
บ้านไกรสร |
679/695 |
56 |
53 |
1:13 |
5 |
บ้านเชี่ยวหลาน |
381/384 |
30 |
29 |
1:12 |
รวม |
1,060/1,079 |
86 |
82 |
1:13 |
รพ.สต.บ้านเชี่ยวหลาน-ไกรสร มีอสม.ที่ปฏิบัติงานในชุมชน ทั้งหมด 86 คนและได้รับเงินค่าป่วยการ 82 คน ในด้านความครอบคลุมในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่นั้นเป้าหมายอสม. 1 คน : 13 หลังคาเรือน ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ปีงบประมาณ 2563 ส่วนอสม.เชี่ยวชาญแต่ละสาขา ทั้ง 11 สาขาจำนวน 86 คน